การฉีดเกล็ดเลือดปั่นเข้มข้น PRP (Platelet Rich Plasma)

Last updated: 6 ส.ค. 2567  |  672 จำนวนผู้เข้าชม  | 

PRP ฉีดเกล็ดเลือดปั่น

เกล็ดเลือดเข้มข้น หรือ PRP สามารถนำมาใช้ลดปวดได้อย่างไร?
นอกจากการทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดแล้ว การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) ไปยังข้อ
หรือ เส้นเอ็นที่เสื่อมสามารถช่วยลดอาการปวดบริเวณต่างๆ เช่น ปวดข้อ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ได้อีกด้วย

 

เกล็ดเลือดคืออะไร

โดยในเลือดของคนเราจะประกอบไปด้วย เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่ง เกล็ดเลือดนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ช่วยกระตุ้นการหลั่ง Growth factor จึงมีผลทำให้เลือดหยุดไหลเมื่อเกิดบาดแผล และจะช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมและฟื้นฟูอวัยวะที่บาดเจ็บได้

การรักษาใหม่ๆ จึงมีการพัฒนานำเอาเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) มาฉีดที่
บริเวณ เอ็น กล้ามเนื้อ หรือข้อต่อที่ได้รับการบาดเจ็บหรือเสื่อม เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซม และลดอาการปวด

โดยเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP)นั้น จะมี 2 ชนิด คือ

1. แบบมีเม็ดเลือดขาวมาก (LR-PRP) จะกระตุ้นการซ่อมแซมโดยทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อที่ทำการฉีด
2. แบบมีเม็ดเลือดขาวน้อย (LP-PRP) จะใช้ลดการอักเสบ เช่น ลดอาการปวดเข่าจากข้อเข่าเสื่อม

โดยที่ Vasu Pain Management จะใส่ใจกับการเตรียมเกล็ดเลือด เพื่อให้ได้เกล็ดเลือดเข้มข้นที่มีคุณภาพมากที่สุด

โดยการเตรียมเกล็ดเลือดเข้มข้น จะเริ่มจาก
1. เจาะเลือดคนไข้จากต้นแขน ปริมาณ 30-60 ml

2. นำเลือดที่ได้มาปั่นเพื่อแยกเฉพาะส่วนที่เป็นเกล็ดเลือดออกมา

3. เมื่อปั่นเลือดเสร็จ เลือดจะแยกชั้นกัน เราจะดูดส่วนที่เป็นเกล็ดเลือดออกมา
โดยจะได้เกล็ดเลือดที่มีความเข้มข้นมากกว่าปกติ 6-9 เท่า

4. นำเกล็ดเลือดที่ได้มาเข้าเครื่อง LED Cell Activation
เพื่อกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. นำเกล็ดเลือดที่ผ่านขั้นตอนต่างๆมาฉีดให้คนไข้
โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์นำทาง เพื่อระบุตำแหน่งให้ชัดเจน

โดยสามารถฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) ได้ในโรคต่างๆ ดังนี้

กล้ามเนื้อที่ไหล่เสื่อม/ฉีกขาด

โรคเอ็นอักเสบบริเวณข้อศอก ไหล่ติด รองช้ำ ข้อเข่าเสื่อม ปวดคอบ่าไหล่ ออฟฟิศซินโดรม ปวดข้อมือ ปวดหลัง

ตัวอย่างการนำเกล็ดเลือดเข้มข้นมาฉีด
บริเวณเอ็นอักเสบที่ข้อมือ (De Quervain's Tenosynovitis) โดยใช้อัลตราซาวด์ในการระบุตำแหน่ง

ข้อควรระวังหลังฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น

1. หลังฉีดอาจมีอาการปวดได้ 1-2 สัปดาห์
2. หลังฉีดควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาต้านการอักเสบ (NSAID) เพราะจะไปลดประสิทธิภาพของเกล็ดเลือด

การรักษาด้วยเกล็ดเลือด (PRP) เป็นการรักษาที่ตรงจุด แต่ประสิทธิภาพของเกล็ดเลือดที่ได้ขึ้นกับหลายปัจจัย 
เช่น ความเข้มข้นของเกล็ดเลือด ปริมาณของเม็ดเลือดขาว การใช้ LED Cell Activation และอื่นๆ ที่ Vasu Pain Management จึงให้ความสำคัญกับการเตรียมเกล็ดเลือดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่สูงสุด

บทความโดย

นพ.วสุ กาญจนหัตถกิจ (FIPP, CIPS)

พญ.อัญชลี จิระวาณิชย์กุล (CIPS)

ที่มา

Le ADK, Enweze L, DeBaun MR, Dragoo JL. Current Clinical Recommendations for Use of Platelet-Rich Plasma. Curr Rev Musculoskelet Med. 2018 Dec;11(4):624-634. doi: 10.1007/s12178-018-9527-7. PMID: 30353479; PMCID: PMC6220007.


#Certified Interventional Pain Sonologist

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้