การฉีดสารละลายกลูโคส (Dextrose Prolotherapy หรือ DPT) ตอนที่ 3

Last updated: 1 ต.ค. 2567  |  158 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ฉีดกลูโคสที่ Vasu Pain Management

การฉีดกลูโคส ตอนที่ 3

อาการปวดหลังเป็นภาวะที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ อาการปวดหลังอาจเกิดได้จาก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท ข้อต่อ หมอนรองกระดูกสันหลัง หรือ อาจไม่มีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดได้ชัดเจน และอาการปวดมักจะเรื้อรัง เป็นระยะเวลาหลายเดือน หรือ หลายปี จึงทำให้กระทบการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

ปัจจุบันได้มีการนำสารละลายกลูโคสมาฉีดเพื่อทำการรักษาอาการปวดหลังที่เกิดจากเส้นประสาท ด้วยวิธี Perineural injection therapy

ในปี 2016 มีการวิจัยโดย Liza และคณะ1 นำผู้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง ระดับปานกลางถึงรุนแรง ที่ยังไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ทั้งหมด 32 คน  มาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ฉีดสารละลายกลูโคสเข้าโพรงไขสันหลัง และ กลุ่มที่ 2 ฉีดน้ำเกลือเข้าไปบริเวณโพรงของไขสันหลัง และติดตามดูอาการปวด ผลพบว่าอาการปวดในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดสารละลายกลูโคสลดลง จากเดิมที่มีคะแนนความปวด 6 เหลือ 1.7 ที่ 4 ชั่วโมงหลังจากได้รับการฉีดกสารละลายกลูโคสซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p value < 0.001) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการฉีดด้วยสารละลาน้ำเกลือ และผู้ที่ได้รับการฉีดสารละลายกลูโคส 16 คนจาก 19 คน (84%) มีอาการปวดหลังลดลง มากกว่า 50% ที่ 4 ชั่วโมงหลังจากการฉีด



               และในปี 2018 Liza และคณะ2 ทำการฉีดสารละลายกลูโคสเข้าไปที่โพรงไขสันหลังต่อเนื่อง ทุก 2 สัปดาห์ นาน 4 ครั้ง พบว่าทุกๆครั้งที่ได้รับการฉีดสารละลายกลูโคส อาการปวดจะลดลงเรื่อย ๆ จากคะแนนความปวดเริ่มต้นที่ 6.5 จะลดลงเหลือ ประมาณ 3 คะแนนที่1 ปี และผู้ที่ได้รับการฉีดสารละลายกลูโคส 21 คนจาก32 คน (66%) มีอาการปวดลดลงมากกว่า 50%



                 ปัจจุบันได้นำเครื่องอัลตราซาวด์มาใช้ในการระบุตำแหน่งในการฉีดยาเข้าไปที่โพรงไขสันหลังเพื่อเพิ่มความแม่นยำ ลดอัตราการฉีดยาผิดตำแหน่ง และลดความเสี่ยงในการรับรังสีเอ็กซ์ในผู้ป่วย ทำให้การฉีดยามีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็จะยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะติดเชื้อ เลือดออก ดังนั้นควรทำภายใต้อุปกรณ์ที่สะอาด ปราศจากเชื้อ เทคนิคที่ถูกต้อง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ดังนั้นการฉีดสารละลายกลูโคสเข้าโพรงไขสันหลังภายใต้การใช้อัลตราซาวน์นำทางจึงเป็นตัวเลือกหนึ่งของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังที่ทำกายภาพบำบัดมาแล้วอาการปวดยังไม่ตอบสนองเท่าที่ควร



ภาพแสดงการฉีดสารละลายเข้าไปที่โพรงไขสันหลังภายใต้การใช้อัลตราซาวด์นำทาง

 


เอกสารอ้างอิง

1.    Maniquis-Smigel L, Dean Reeves K, Jeffrey Rosen H, Lyftogt J, Graham-Coleman C, Cheng AL, Rabago D. Short Term Analgesic Effects of 5% Dextrose Epidural Injections for Chronic Low Back Pain: A Randomized Controlled Trial. Anesth Pain Med. 2016 Dec 6;7(1):e42550. doi: 10.5812/aapm.42550. PMID: 28920043; PMCID: PMC5554430.

2.    Maniquis-Smigel L, Reeves KD, Rosen HJ, Lyftogt J, Graham-Coleman C, Cheng AL, Rabago D. Analgesic Effect and Potential Cumulative Benefit from Caudal Epidural D5W in Consecutive Participants with Chronic Low-Back and Buttock/Leg Pain. J Altern Complement Med. 2018 Dec;24(12):1189-1196. doi: 10.1089/acm.2018.0085. Epub 2018 Jun 8. PMID: 29883193; PMCID: PMC6308281.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้