การฉีดสารละลายกลูโคส (Dextrose Prolotherapy หรือ DPT) ตอนที่ 1

Last updated: 1 ต.ค. 2567  |  681 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ฉีดกลูโคส

การฉีดกลูโคสคืออะไร อาการปวดที่เกิดจากกระดูกและกล้ามเนื้อ ถือว่าเป็นอาการปวดที่พบได้บ่อยในประชากร ได้สร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้มีข้อจำกัดในการทำงานหรือการเล่นกีฬาเป็นอย่างมาก โดยการรักษาสามารถทำได้ตั้งแต่การกินยาลดปวด การทำกายภาพบำบัด แต่ผู้ป่วยบางกลุ่มก็ยังมีอาการปวดอยู่ และอาจได้รับผลข้างเคียงจากการกินยาเป็นระยะเวลานานอีกด้วย

ปัจจุบันมีการนำเอาสารละลายกลูโคส เข้ามาใช้ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดเรื้อรังมากขึ้น โดยการใช้สารละลายกลูโคส จะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆ คือ

1. Dextrose Prolotherapy คือ การฉีดสารละลายกลูโคสเข้มข้นไปเพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมของเส้นเอ็น
2. Perineural injection therapy คือ การฉีดสารละลายกลูโคสไปบริเวณชั้นผิวหนังตื้นๆ เพื่อรักษาอาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาท

โดยในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ Dextrose Prolotherapy กันก่อน

การฉีดสารละลายกลูโคส คืออะไร

การฉีดสารละลายกลูโคส Dextrose Prolotherapy หรือ DPT คือ การใช้สารละลายกลูโคสเข้มข้น คือประมาณ 12.5  25% ฉีดไปที่บริเวณ ข้อต่อ เส้นเอ็น ที่มีภาวะเสื่อม อ่อนแรง หรือฉีกขาด เมื่อฉีดกลูโคสเข้าไปแล้ว กลูโคสจะกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซม โดยกระตุ้นให้เกิดการอักเสบแบบเล็กน้อย (Mild osmotic irritation) ร่วมกับการที่แพทย์ใช้เข็มฉีดยา ทำให้เกิดการบาดเจ็บเล็กน้อย (Mirotrauma) บริเวณของเส้นเอ็นที่ฉีกขาดหรืออ่อนแรง ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยนี้ ทำให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ (Healing Casade) เกิดการสร้างคอลลาเจน เกิดการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อที่อ่อนแรง และทำให้อาการปวดดีขึ้นในที่สุด การฉีดสารละลายกลูโคสจึงนับว่าเป็นการรักษาอาการปวดที่เกิดจากต้นเหตุ มีผลข้างเคียงของการรักษาค่อนข้างน้อย และมีประสิทธิภาพ

กลูโคสสามารถลดปวดได้ในโรคอะไรบ้าง 

การฉีดกลูโคส ชนิด Dextrose Prolotherapy สามารถลดอาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นที่อ่อนแรง หรือฉีกขาด ข้อเสื่อม จากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน ตัวอย่างเช่น

1.  อาการปวดจากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อไหล่เสื่อม กระดูกข้อต่อที่หลังเสื่อม
2. การบาดเจ็บของเส้นเอ็นที่อวัยวะต่างๆ เช่น เอ็นที่ไหล่ฉีกขาดหรือเสื่อม รองช้ำ เอ็นร้อยหวายอักเสบ เป็นต้น
3. การบาดเจ็บจากกีฬา เช่น โรคเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบบริเวณข้อศอก ข้อเท้าพลิก

ขั้นตอนการฉีดกลูโคส

1.  แพทย์ประเมินอาการปวดว่าเกิดจากสาเหตุใด โดยการซักประวัติ และตรวจร่างกาย
2. แพทย์ใช้เครื่องอัลตราซาวน์ ตรวจดูตำแหน่งที่ปวด ดูลักษณะของเส้นเอ็นที่มีอาการเสื่อม อักเสบ หรือฉีกขาด เพื่อเพิ่มความแม่นยำและปลอดภัย
3. ทำการฉีดสารละลายกลูโคสเข้าไปในบริเวณที่ต้องการกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซม โดยแต่ละจุดจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที
4. หลังฉีดจะมีการประคบเย็นหรือเป่าลมเย็นเพื่อลดการระบม

ข้อดี - ข้อเสียของการฉีดกลูโคส

1. บริเวณที่ฉีดกลูโคส จะมีการอักเสบบริเวณที่ฉีดเล็กน้อย ทำให้ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดบริเวณที่ฉีดได้ เป็นระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน สามารถลดอาการปวดได้ด้วยการประคบด้วยความเย็น และหลีกเลี่ยงการใช้งานหนักบริเวณที่ฉีด
2. โดยส่วนใหญ่แล้วหลังจากฉีดจะมีอาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่อย่างไรก็ตามหาก มีอาการเสื่อมที่เป็นมาก อาจต้องมาฉีดมากกว่า 1 ครั้ง
3. สารละลายกลูโคสที่ใช้ในการฉีดนั้นเป็นสารละลายที่ปลอดภัย ไม่มีส่วนประกอบของ ยาสเตียรอยด์ทำให้สามารถฉีดซ้ำได้ และไม่ทำให้เส้นเอ็นเปื่อยหรือฉีกขาด
4. สารละลายกลูโคส ไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อตับ ไต หรือ กระเพาะอาหาร จึงเหมาะกับกลุ่มคนที่ไม่อยากกินยาแก้ปวดในระยะเวลานานๆ
5. การฉีดสารละลายกลูโคส ก็จะคล้ายการฉีดยาทั่วไป คือ จะมีผลข้างเคียงเช่น ช้ำ เลือดออก หรือติดเชื้อได้ แต่หากทำภายใต้การดูแลของแพทย์ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ได้ ทั้งนี้ขั้นตอน วิธีการ และผลลัพธ์อาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล


สามารถทำนัดเพื่อเข้ามาปรึกษาก่อนทำหัตถการได้ที่ Vasu Pain Management

 

อ้างอิงบทความจากLiza Maniquis-Smigel, Paschenelle Celis and Dean Reeves, Dextrose-Based Perineural Injection Treatment, and Ultrasound hydro dissection




Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้